กฎบัตรเตาปูน-บางโพประเดิมข้อเสนอโครงการเร่งด่วน
การเชื่อมต่อรัฐสภาใหม่กับสถานีรถไฟฟ้าเตาปูน
และพัฒนาถนนประชาราษฎร์สายสองเป็นถนนแห่งการเดิน
นายฐาปนา บุณยประวิตร หัวหน้าคณะผู้วิจัยโครงการพัฒนากลไกเชิงพื้นที่เพื่อการออกแบบเมืองอย่างชาญฉลาดเพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคม (SG-ABC) ในฐานะผู้ดำเนินการยกร่างกฎบัตรกรุงเทพมหานครร่วมกับกรุงเทพมหานคร บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด บริษัท กรุงเทพพัฒนาเมือง จำกัด สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล พร้อมองค์กรเครือข่ายพันธมิตร โดยการสนับสนุนของ สกสว.ได้จัดประชุมครั้งที่ 1 กฎบัตรเตาปูน-บางโพ มีข้อมูลกายภาพและข้อเสนอโครงการเร่งด่วน ดังนี้
- เตาปูน-บางโพ เป็นพื้นที่ได้รับอิทธิพลทางตรงของศูนย์การขนส่งขนาดใหญ่ 2 แห่งได้แก่ ศูนย์กลางขนส่งนนทบุรี (แยกแคราย-รวมรถไฟฟ้า 3 สาย) ศูนย์กลางบางซื่อ (รวมรถไฟความเร็วสูง 3 เส้นทาง รถไฟฟ้าในเมือง รถไฟชานเมือง และรถไฟเชื่อมระหว่างภาค) รวม trip ทั้งหมดมากกว่า 1 ล้าน trips/day บวกกับอาคารรัฐสภา (4.5 หมื่นคน/วัน หรือไม่น้อยกว่า 3.5 หมื่น trip/day กลุ่มสถาบันการศึกษาได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครเหนือ (ประชากรรวม 4 หมื่นคนหรือไม่น้อยกว่า 3 หมื่น trip/day) ทำให้พื้นที่ 14 ตารางกิโลเมตรแห่งนี้จะเปลี่ยนแปลงอย่างมากในอนาคต ทั้งนี้ เตาปูน-บางโพ ถูกกำหนดขอบเขตด้านตะวันออกด้วยแนวพวกรางรถไฟและสถานีกลางบางซื่อ ด้านทิศเหนือ.ขอบเขตประชิดจังหวัดนนทบุรี ด้านทิศตะวันตกติดแม่น้ำเจ้าพระยา ด้านทิศใต้บรรจบอาคารรัฐสภา ที่ทหารและสถานที่ราชการ
- จากข้อแรก ความเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นในด้านที่อยู่อาศัยแนวตั้ง พื้นที่ค้าปลีกพร้อมหน่วยบริการชุมชนใหม่ ตามพฤติกรรมประขากร พร้อมอาคารสำนักงานและโรงแรมขนาดกลางใหญ่ในอนาคต ทั้งนี้ พื้นที่ค้าปลีกจากการพัฒนาของจากการรถไฟแห่งประเทศไทย บริเวณโซน A และโซน D มีรัศมีบริการไม่ถึงพื้นที่เตาปูน-บางโพ
- ที่ประชุมผู้ยกร่างกฎบัตร เห็นตรงกันในการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งเขียว (เดิน ปั่น ขนส่งมวลชน) พื้นที่สีเขียว สวนสาธารณะ และที่อยู่อาศัย โดยมีวาระเร่งด่วนให้กรุงเทพมหานครพิจารณา ได้แก่ การเร่งรัดโครงการระบบขนส่งมวลชนรอง (feeder system) โดยช่วงต้นอาจเป็น รถบัสไฟฟ้า และรถไฟฟ้ารางเบาขนาดเล็กระดับดิน หรือ modern tram ในช่วงต่อไป ซึ่งสามารถดำเนินการได้ทันที ทั้งนี้ให้ระบบดังกล่าวเชื่อมโยงระหว่างสถานีรถไฟฟ้ากับอาคารรัฐสภาใหม่ พร้อมการออกแบบถนนสายประชาราษฎร์สาย 1 และ 2 เป็น main streets ที่ให้ความสำคัญสำหรับการเดินและมีความเข้มข้นของเศรษฐกิจสองข้างทาง
- การปรับปรุงฟื้นฟูให้เตาปูน-บางโพเป็น walkble community รวมถนนและซอยในพื้นที่ชุมชน โดยเริ่มจากถนนประชาราษฎร์สาย 2 ซึ่งปัจจุบันและในอนาคตจะมีความหนาแน่นของประชากรและกิจกรรมเศรษฐกิจจากการลงทุนอาคารสำนักงานและที่อยู่อาศัย
- เตาปูน-บางโพ ควรได้รับประโยชน์จากการเกิดขึ้นของอาคารรัฐสภา ในการปรับปรุงฟื้นฟูเมืองให้พื้นที่ดังกล่าวเนื่องจาก
5.1 มีระบบกายภาพที่ดีที่สุด
5.2 มีความสมบูรณ์ของโครงสร้างพื้นฐาน
5.3 ความสามารถในการเชื่อมต่อหรือ connectivity ที่ดินด้วยการเชื่อมรถ ราง เรือ พร้อมการพัฒนาคลองและพื้นที่ริมน้ำ
5.4 เป็นย่านที่มีความปลอดภัยสูงสุด เนื่องจากเป็นศูนย์ของคณะผู้บริหารและฝ่ายนิติบัญญัติของประเทศ
Advertisement
